Infrastructure Management
ในการทดลองนี้เราจะให้นักศึกษาทดลองฝึกใช้ PowerCLI เพื่อจัดการกับ VM และ Host สำหรับคำสั่งของ PowerCL สามารถดูตัวอย่างการใช้งานได้โดยใช้ Get-Help
Get-Help <คำสั่ง PowerCLI> -examples
หรือใช้ online-help
Get-Help <คำสั่ง PowerCLI> -online
ใช้ PowerCLI เพื่อบริหารจัดการ Host
- ทดลองจัดเก็บรหัสผ่านโดยใช้
New-VICredentialStoreItem
และGet-VICredentialStoreItem
- สังเกตว่าชนิดของข้อมูลที่ได้จาก Get-VICredentialStoreItem เป็นชนิดใด (ดูชนิดจากการเรียกใช้ method
getType()
) - ให้สร้าง PSCredential Object จาก Object ที่คุณสร้างขึ้น
$securePassword = ConvertTo-SecureString "PlainPassword" -AsPlainText -Force $creds = New-Object System.Management.Automation.PSCredential("username",$securePassword)
- สังเกตว่าชนิดของข้อมูลที่ได้จาก Get-VICredentialStoreItem เป็นชนิดใด (ดูชนิดจากการเรียกใช้ method
- ให้นักศึกษาทดลองเชื่อมต่อกับ ESXi โดยใช้
Connect-VIServer -Server vcsa.soup.ce.kmitl.ac.th -Credential $creds
หลังจากเชื่อมต่อแล้วนักศึกษาสามารถใช้vi:
หรือvmstore:
เพื่อใช้ตรวจดู Inventory หรือ datastore ได้ - ตรวจดูสถานะของ Host ด้วย
Get-VMHost
จากนั้นให้ตรวจดู Properties ของ VMHost - ตรวจดูสถานะของ VM ด้วย
Get-VM
- ทดลองใช้ Export-CSV เพื่อจัดเก็บผลลัพธ์
ใช้ PowerCLI เพื่อบริหารจัดการ VM
- ทดสอบการสร้าง VM อย่างง่าย (ใช้ชื่อเป็น cli-username) กรณีนี้เราจะสร้าง VM ที่มีหน่วยความจำ 512 MB และดิสค์ขนาด 1 GB ใน Resource pool "lab2"
New-VM -ResourcePool lab2 -Name cli-username -DiskGB 1 -MemoryMB 512
- ตรวจสอบสถานะของ VM ที่สร้างขึ้น
Get-VM cli-username | Format-List
- ใช้คำสั่ง
Move-VM
เพื่อย้าย VMHost ไปอีกเครื่อง - ใช้คำสั่ง
New-CDDrive
,Get-CDDrive
,Set-CDDrive
เพื่อสร้างไดรฟ์ CD-Rom และโหลดiso/tahr64-6.0.5.iso
ให้กับ VM ที่สร้างขึ้นขณะบูท (Hint: ตั้ง option StartConnected ของ VM ให้เป็น 1) - ใช้คำสั่ง
Start-VM
เพื่อเปิด VM ดังกล่าว ตรวจสอบว่า VM สามารถ boot ได้ถูกต้องหรือไม่
Task
หลังจากทดลองใช้แล้วให้นักศึกษาสร้างไฟล์ lab2.ps1
(PowerShell script จะมี extension เป็น .ps1)
โดยในไฟล์นี้ประกอบด้วยสคริปต์ที่สามารถต่อเข้าไปใน vCenter Server (โดยไม่ต้องมี Prompt ให้ใส่ Username/Password)
และแสดงรายชื่อของ VM ที่ต่ออยู่กับ vCenter Server เรียงตามชื่อ (name) ของ VM
พร้อมทั้งแสดง Host ที่ใช้รัน VM และขนาดของหน่วยความจำ(MB) สำหรับ VM แต่ละตัว
ให้ลองรันสคริปโดยเรียก
PowerCLI C:\Users\Student> .\lab2.ps1
หรือใช้
PowerCLI C:\Users\Student> & “C:\your directory\lab2.ps1”
ตัวอย่างผลลัพธ์
Name : vm1
VMHost : 161.246.70.228
MemoryMB : 2048
Name : vm2
VMHost : 161.246.70.229
MemoryMB : 256